ตลาด
บัญชี
แพลตฟอร์ม
นักลงทุน
โปรแกรมพันธมิตร
สถาบัน
โปรแกรมความภักดี
เครื่องมือ
เขียนโดย Itsariya Doungnet
อัปเดตแล้ว 9 กรกฎาคม 2025
หากคุณสนใจตลาดหุ้นอยู่ ก็อาจจะเคยได้ยินคำว่า “VIX Index” ที่เป็นความกลัวของนักลงทุน กันมาบ้าง แต่หากคุณยังไม่เข้าใจว่า ดัชนีความผันผวน มีความหมายว่าอะไร มีความสำคัญอย่างไร ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับ VIX Index ตั้งแต่พื้นฐาน จนถึงการนำไปใช้วิเคราะห์ภาวะตลาด สำหรับนักเทรดมือใหม่ที่ต้องการวางแผนอย่างชาญฉลาดในตลาดที่มีความผันผวน
VIX Index คือ ดัชนีวัดความผันผวนของตลาดหุ้น S&P 500 ใน 30 วันข้างหน้า
VIX Index สะท้อนระดับความกลัวและความไม่แน่นอนของนักลงทุนในตลาด
VIX Index ช่วยนักลงทุนประเมินความเสี่ยงและวางแผนกลยุทธ์ลงทุนได้ดีขึ้น
VIX Index ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจซื้อขายและป้องกันความเสี่ยงในตลาดผันผวน
ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ
VIX Index คือ ดัชนีวัดความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดหุ้น S&P 500 ในช่วง 30 วันข้างหน้า ที่จัดทำโดย Chicago Board Options Exchange (CBOE) VIX หรือที่เราเรียกกันว่า Volatility Index มักจะถูกเรียกว่า “ดัชนีความกลัว” ที่มักจะบอกถึงความไม่มั่นคงของตลาด
VIX ไม่ได้คำนวณจากราคาหุ้นโดยตรง แต่คำนวณจาก “ราคาการซื้อขายออปชัน” ของดัชนี S&P 500 VIX คือ สิทธิในการซื้อหรือขายดัชนีในอนาคต ซึ่งราคาของมันสะท้อนความคาดหวังของนักลงทุนว่าตลาดจะผันผวนมากหรือน้อย สามารถทำได้ตามขั้นตอน การคำนวณ VIX ดังนี้
เลือกออปชันของ S&P 500 จากชุดของออปชันที่ใกล้จะหมดอายุในช่วง 23–37 วันข้างหน้า
ดูราคาทั้ง Call และ Put เพื่อใช้ราคากลางของออปชันในแต่ละระดับราคานำไป
คำนวณตามสูตรของ CBOE ทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วแปลงออกมาเป็น ค่าความผันผวนที่คาดการณ์ ของตลาดในช่วง 30 วันข้างหน้า
แปลงออกมาเป็นตัวเลข VIX ที่อยู่ในรูปเปอร์เซ็นต์ เช่น 15, 20, 30 เป็นต้น
ดัชนี VIX เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนประเมิน "ความเคลื่อนไหวของตลาด" ได้ว่าตอนนี้นักลงทุนกำลังรู้สึกมั่นใจหรือหวาดกลัวมากแค่ไหน ตัวเลข VIX Volatility Index สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อ-ขาย หรือจัดพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อค่า VIX อยู่ในระดับต่ำ (เช่น ต่ำกว่า 15) นั่นแปลว่า:
ตลาดมีความมั่นคง
นักลงทุนส่วนใหญ่มีความมั่นใจว่าไม่มีเหตุการณ์ใหญ่ที่จะทำให้ความผันผวนของตลาดระยะสั้น
เหมาะกับช่วง "ขาขึ้น" ของตลาด เพราะคนกล้าลงทุน
เมื่อค่า VIX สูง (เช่น มากกว่า 25-30):
สะท้อนความกลัวหรือความไม่แน่นอนในตลาด
นักลงทุนกำลังกังวลกับเหตุการณ์บางอย่าง เช่น ข่าวเศรษฐกิจ หรือข่าวระดับโลก
ตลาดอาจผันผวนมากในระยะสั้น
แม้ว่าเราจะไม่สามารถซื้อขาย "VIX Index" โดยตรงได้เหมือนหุ้นทั่วไป แต่ก็มีเครื่องมือทางการเงินหลายประเภทที่ออกแบบมาให้สามารถเทรดตามความเคลื่อนไหวของ VIX ได้ ซึ่งวิธีการทำงานของ VIX เช่น ฟิวเจอร์ส VIX และ VIX Options
เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงค่าของดัชนี VIX ในอนาคต นักลงทุนสามารถเก็งกำไรจากการขึ้นหรือลงของ VIX ได้ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรจากความผันผวนของตลาด เช่น:
หากคาดว่า VIX จะพุ่งขึ้น ให้เลือกซื้อสัญญา Long
หากคาดว่า VIX จะลดลง ให้เลือกเปิด Short หรือขาย
การลงทุนใน VIX เป็นสิทธิในการซื้อหรือขายสัญญา VIX Futures ในอนาคต สามารถใช้เป็นเครื่องมือเก็งกำไรหรือป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ได้เช่นกัน ตัวเลือกที่ใช้บ่อยคือ:
Call Option จะได้กำไรเมื่อ VIX พุ่ง
Put Option จะได้กำไรเมื่อ VIX ร่วง
คุณจำเป็นต้องใช้ เทคนิค หรือ กลยุทธ์ส่วนตัวที่คุณมี เพื่อใช้เป็น “เครื่องมือประกอบการตัดสินใจ” หรือ “กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยง” เพื่อการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น การเทรดตลาดกระทิง หรือ การเทรดตลาดหมี ซึ่งจะมีแนวทางหลัก ๆ ดังนี้:
หาก VIX ต่ำมาก เช่น ต่ำกว่า 12–13 ติดต่อกัน อาจเป็นสัญญาณว่าตลาดนิ่งเกินไป ซึ่งมักจะตามมาด้วยการพักฐานหรือตลาดอาจเริ่มมีแรงขาย หาก VIX สูงเกิน 30 ตลาดอาจอยู่ในภาวะผันผวนรุนแรง การรอให้ตลาดสงบลงก่อนลงทุนอาจช่วยลดความเสี่ยงในระยะสั้น
หากค่า VIX เริ่ม พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่วมกับความผันผวนของตลาดหุ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเกิดความกังวลในตลาด นักลงทุนอาจพิจารณา ลดสัดส่วนหุ้นในพอร์ต เพิ่มเงินสด หรือปรับการลงทุนให้อยู่ในรูปแบบที่ปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งนี่ก็ช่วยให้นักลงทุนสามารถเพิ่มการทำกำไรได้มากกว่าเดิม
หากไม่สะดวกเทรด VIX Futures โดยตรง นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนผ่าน ETF ที่อิงกับ VIX Futures ระยะสั้น ได้ เช่น:
VXX – iPath Series B S&P 500 VIX Short-Term Futures ETN
UVXY – ProShares Ultra VIX Short-Term Futures ETF
สินค้าเหล่านี้จะเคลื่อนไหวตาม VIX Futures แต่ควรใช้อย่างระมัดระวัง และ ไม่เหมาะสำหรับการถือระยะยาว เพราะมีโอกาส “เสื่อมมูลค่า” จากโครงสร้างฟิวเจอร์ส
ดัชนี VIX มักแสดงถึงระดับความผันผวนและความกังวลในตลาดหุ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนี S&P 500 เมื่อ S&P 500 ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว นักลงทุนมักรู้สึกไม่มั่นใจ ส่งผลให้ความผันผวนเพิ่มขึ้นและดัชนี VIX ก็จะสูงขึ้น
ตัวอย่างเช่น: ช่วงที่ตลาดหุ้นตกต่ำอย่างหนักในปี 2020 ระหว่างวิกฤตโควิด-19 S&P 500 ลดลงอย่างมาก ขณะที่ VIX พุ่งสูงอย่างรวดเร็ว สะท้อนถึงความตื่นตระหนกของนักลงทุน แต่ในช่วงที่ตลาดฟื้นตัวและราคาหุ้นเพิ่มขึ้น VIX จะลดต่ำลงตามไปด้วย ความสัมพันธ์นี้จึงเป็นตัวชี้วัดที่มีประโยชน์สำหรับการประเมินความเสี่ยงในตลาดหุ้น
แม้ว่าดัชนี VIX จะเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้วัดความผันผวนและความกลัวในตลาดหุ้น แต่ก็มีข้อจำกัดและข้อควรระวังที่คุณควรรู้ก่อนนำไปใช้งาน
VIX เป็นดัชนีที่คำนวณจากราคาของตัวเลือก (options) บนดัชนี S&P 500 ซึ่งสะท้อนความคาดหวังของความผันผวนในอนาคต แต่ VIX ไม่ได้บอกถึงทิศทางของตลาดว่าจะขึ้นหรือลง ความผันผวนที่ VIX วัดได้เป็นเพียงการคาดการณ์ และอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ที่ทำให้ VIX มีความไม่แน่นอนสูง นักลงทุนจึงควรใช้ VIX ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
ความผันผวนที่ VIX แสดงนั้นเป็น “ความผันผวนที่คาดการณ์” ที่มาจากราคาของ options ที่นักลงทุนซื้อขายกันในตลาด ขณะที่ “ความผันผวนจริง” คือ ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดจริงตามข้อมูลราคาหุ้นย้อนหลัง
ความแตกต่างนี้อาจเกิดจากการที่นักลงทุนมีความคาดหวังไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ VIX บางครั้งอาจสูงหรือต่ำกว่าความผันผวนจริงในตลาด ฉะนั้นแล้ว VIX จึงไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่สมบูรณ์แบบ แต่เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ การวิเคราะห์ทางเทคนิคช่วยให้เข้าใจความเสี่ยงในตลาดได้ดีขึ้น
VIX Index คือดัชนีวัดความผันผวนตลาดหุ้น S&P 500 ใน 30 วันข้างหน้า มาจากราคาตัวเลือก (options) ของดัชนีนี้ ซึ่ง VIX Index ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจความไม่แน่นอนของตลาดในอนาคต ทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงและวางแผนการลงทุนได้ดีขึ้น ช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง VIX จะช่วยเตือนให้นักลงทุนระมัดระวังและใช้กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยง เป็นเครื่องมือที่สำคัญทั้งสำหรับนักลงทุนมือใหม่และมืออาชีพ
เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย
ดัชนี VIX คือ ดัชนีที่วัดความผันผวนของตลาดหุ้นในอนาคต ที่สะท้อนให้เห็นถึงจังหวะในการเข้าตลาดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น จากการวิเคราะห์อารมณ์ของตลาด
เมื่อ VIX ต่ำ แปลว่าตลาดมีความมั่นใจสูง นักลงทุนมักมองว่านี่อาจเป็นโอกาสที่ดีในการซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์อื่น ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าควรซื้อทุกครั้ง ควรพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย
VIX เหมาะกับการเทรดระยะสั้นมากกว่าระยะยาว เพราะ VIX มีลักษณะผันผวนสูงและค่าเฉลี่ยมักจะลดลงในระยะยาว การถือครองระยะยาวอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนได้
ดัชนี VIX อาจจะไม่ครอบคลุมตลาดอื่น ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ทิศทางราคาว่าจะขึ้นหรือลง เหมาะกับการเทรดระยะสั้นมากกว่าระยะยาว และอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ
เมื่อดัชนี VIX ขึ้น หมายความว่าตลาดมีความกังวลหรือความกลัวมากขึ้น หาก VIX ลดลง แสดงว่านักลงทุนมีความมั่นใจ ตลาดดูนิ่งและเสถียรมากขึ้น ทั้งนี้แล้วก็ขึ้นอยู่กับวิธีการลงทุนแต่ละคน
หาก VIX ต่ำมาก แสดงว่าตลาดมีความมั่นใจสูงสุด อาจเป็นสัญญาณว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงที่ราคาหุ้นสูงเกินจริง และมีความเสี่ยงที่จะมีความผันผวนขึ้นในอนาคต
SEO Content Writer
อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ
เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง